หน้าแรก เราทำอะไร พื้นที่พัฒนา สำรวจพื้นที่โอกาส
ร่วมพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวขนาดเล็กในเมืองกับเรา ได้ที่
wepark.thailand@gmail.com
094 513 4778
fb.com/wecreatepark

เนื้อหาและข้อมูลโดย we!park สงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons อ้างอิงแหล่งที่มา สัญญาอนุญาตสากล 4.0 (Attribution 4.0 International) เว้นแต่มีการระบุไว้เป็นอย่างอื่น | นโยบายความเป็นส่วนตัว

สวนชุมชนโชฎึก

แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์
410 ตร.ม.
สร้างเสร็จ

พื้นที่เล่นและเรียนรู้ของคนต่างวัย ริมคลองประวัติศาสตร์

พื้นที่ว่างริมน้ำขนาดเล็กเดิมเป็นพื้นที่จอดรถและไม่ได้ถูกใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพได้รับการพัฒนาให้เป็นพื้นที่สาธารณะสีเขียว ผ่านแนวคิดในการสร้างพื้นที่และกิจกรรมเพื่อกระตุ้นปฏิสัมพันธ์ของผู้คนต่างวัย และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการออกกำลังกาย การเล่น และการพักผ่อน ให้แต่ละกิจกรรมไม่รบกวนกัน โดยใช้ประโยชน์จากการเป็นพื้นที่ริมคลองที่มีต้นไม้เดิมปกคลุม องค์ประกอบเด่นที่ถูกนำมาใช้ในการปรับเปลี่ยนพื้นที่ คือ ทางลาดที่ผสานไปกับสนามเด็กเล่น และม้านั่งที่ออกแบบให้เป็นกระบะต้นไม้ในตัว

รวมภาพกระบวนการพัฒนาพื้นที่
สถานะและผลกระทบการพัฒนาพื้นที่
สถานะการพัฒนา

สร้างเสร็จ

วันเริ่มโครงการ

1 กรกฎาคม 2563

วันเปิดใช้งาน

12 มิถุนายน 2564

วันปิดใช้งาน

-

การเข้าถึงพื้นที่สาธารณะสีเขียว

+0 ตร.ม.

จำนวนประชากร

8,233 คน

พื้นที่เข้าถึงในระยะรัศมี 400 เมตรทั้งหมด 511,887 ตร.ม. โดยก่อนการพัฒนาพื้นที่สามารถเข้าถึงได้อยู่เดิม 511,887 ตร.ม.

จำนวนประชากรโดยประมาณ จากโครงสร้างข้อมูลสถิติจำนวนประชากรแยกรายอายุ ปี พ.ศ. 2562 โดยกรมการปกครอง คำนวณตามสัดส่วนพื้นที่แขวงที่ระยะรัศมี 400 เมตรครอบคลุม

พื้นที่สาธารณะสีเขียว

+410 ตร.ม.

สิ่งอำนวยความสะดวก
  • เครื่องเล่นเด็ก
  • ที่นั่ง
  • อุปกรณ์ยืดเหยียด
พื้นที่ร่มไม้

-

ต้นไม้ใหญ่

-

กระบวนการมีส่วนร่วม 23334เริ่มต้นวางแผนออกแบบก่อสร้างดูแล
  • 1 ไม่มีส่วนร่วม
  • 2 ร่วมทางอ้อม
  • 3 ร่วมปรึกษา
  • 4 ร่วมทำ
  • 5 มีอำนาจตัดสินใจ
กิจกรรม
  • จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ “UNIQUE THE SPACE” พื้นที่สวนชุมชนโชฎึก
  • จัดกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนครั้งที่ 1
  • จัดกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนครั้งที่ 2
  • นำข้อมูลจากการทำกระบวนการมาพัฒนาเป็นแบบ
  • ผลิตเฟอร์นิเจอร์เพื่อใช้ในพื้นที่
  • จัดกิจกรรมกระตุ้นพื้นที่ในช่วง Bangkok Design Week
  • จัดกระบวนการเพื่อสร้างกลไกและแนวทางการบริหารจัดการ

พื้นที่ก่อนการพัฒนา
1011491752112702872802852762612963033032521639969481121411582212783012722783053113373683513282491511261170-45-910-1415-1920-2425-2930-3435-3940-4445-4950-5455-5960-6465-6970-7475-7980-8485+หญิงชายอายุ (ปี)

ข้อมูลทั่วไป

หลังจากมีการเวรคืนพื้นที่ริมคลองผดุงกรุงเกษมเพื่อก่อสร้างโครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงลาดหญ้า-มหาพฤฒาราม และโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเส้นทางหัวลำโพง-มหาชัย ทำให้พื้นที่ริมคลองผดุงกรุงเกษมถูกปล่อยเป็นพื้นที่ว่างหรือพื้นที่รกร้าง แต่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณะสีเขียว จากเป็นพื้นที่ริมคลองที่สามารถสร้างพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนและคลอง รวมถึงขยายเป็นเครือข่ายพื้นที่สาธารณะสีเขียวริมคลองได้

— ที่ตั้ง

แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร

— ขนาดพื้นที่

410 ตร.ม.

— ประเภทที่ดิน

พื้นที่สีเขียวที่ครอบครองโดยภาครัฐ

ภาพถ่ายดาวเทียม ปี พ.ศ. 2563 โดย Maxar Technologies ผ่าน Mapbox

พื้นที่สาธารณะสีเขียว

พื้นที่ก่อนการพัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณะสีเขียวของกรุงเทพมหานคร แต่ไม่มีการออกแบบภูมิทัศน์และการใช้ประโยชน์ที่ตอบสนองต่อการใช้งานของชุมชนโดยรอบ

การเข้าถึงพื้นที่สาธารณะสีเขียว100.0%
พื้นที่ในระยะรัศมี 400 เมตรทั้งหมด

511,887 ตร.ม.

พื้นที่ที่เข้าถึงได้อยู่เดิม

511,887 ตร.ม.

— พื้นที่สาธารณะสีเขียวเดิม
  • สวนหย่อมหน้าสำนักการศึกษา
  • ศูนย์สรรพสินค้าริเวอร์ซิตี้
  • สวนหย่อมซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติฯ(ถนนเยาวราช แขวงตลาดน้อย)
  • สวนศิลป์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์
  • สวนริมคลองผดุงกรุงเกษม (ริมคลองผดุงกรุงเกษม แขวงตลาดน้อย)

ข้อมูลพื้นที่สาธารณะสีเขียวในพื้นที่ จากการคัดกรองข้อมูลฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร ฉบับปรับปรุงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2564

ผู้คน

คนโดยรอบเป็นวัยทำงาน ค่อนไปทางผู้สูงอายุ ซึ่งอาศัยอยู่ในชุมชนย่านเมืองเก่า ชุมชนร่วมกับปั้นเมืองจึงดำเนินการโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในย่านเมืองเก่า ในการเสนอแผนพัฒนาสวนสาธารณะของชุมชนในพื้นที่

— จำนวนประชากร

8,233 คน

— อายุเฉลี่ย

44 ปี

ชาย

3,828 คน

อายุเฉลี่ย

42 ปี

หญิง

4,405 คน

อายุเฉลี่ย

45 ปี

ประมาณการณ์จำนวนประชากรจากโครงสร้างข้อมูลสถิติจำนวนประชากรแยกรายอายุ ปี พ.ศ. 2562 โดยกรมการปกครอง ตามสัดส่วนพื้นที่แขวง


กระบวนการ

ร่วมพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียว ร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่

จากการศึกษาโครงข่ายพื้นที่สาธารณะสีเขียวในย่าน พบว่าพื้นที่ริมคลองผดุงกรุงเกษมเป็นพื้นที่ศักยภาพ ทั้งยังมีพื้นที่ว่างหรือพื้นที่รกร้างที่พร้อมจะพัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณะสีเขียวได้ ทาง wepark จึงเข้าไปศึกษาและพบกับกลุ่ม “สถาปนิกปั้นเมือง” ที่ทำงานพัฒนาพื้นที่ว่างบริเวณชุมชนโชฎึกด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม เราจึงได้นำเสนอความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน โดย we!park ทำหน้าที่ชักชวนเครือข่ายภาคส่วนอื่น ๆ เข้ามาร่วมพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน ประกอบด้วย กลุ่มสถาปนิกปั้นเมือง และอาร์ตโฟร์ดี (art4d) โดยมีปูนซีเมนต์ไทย (SCG) เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างและจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการร่วมกับนิสิต นักศึกษา และสถาปนิกที่มีความสนในในการออกแบบผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนภายและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องใต้ชื่อ UNIQUE THE SPACE เพื่อเสนอแนวคิด การพัฒนาแบบไปสู่แบบก่อสร้าง โดยใช้เครื่องมือเช่น แผนที่ โพสอิท โมเดลในการสื่อสารความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ของงานออกแบบพื้นที่ และพัฒนาร่วมกับชุมชนจนได้ผลงานพื้นที่กายภาพที่ตอบโจทย์กับทุกฝ่ายมากที่สุด สวนชุมชนโชฎึกโครงข่ายทดลองพื้นที่สาธารณะสีเขียวริมคลองผดุงกรุงเกษมที่พัฒนาร่วมกับนักออกแบบและชุมชนในพื้นที่ อีก 7 จุด มีแผนเปิดใช้งานและทดลองความเป็นไปได้ของการเชื่อมต่อพื้นที่สีเขียวตลอดแนวคลองช่วงสถานีรถไฟหัวลำโพง-ลานหน้าศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้ ในช่วงงานกิจกรรม Bangkok Design Week ในอนาคต เพื่อจัดกิจกรรมสื่อสาร และกระตุ้นพื้นที่เพื่อให้เกิดการรับรู้ในสังคมเป็นวงกว้างเกี่ยวกับการเพิ่มพื้นที่สาธารณะสีเขียว ทุก ๆ ระยะรัศมีบริการ 400 ม. กระตุ้นการเชื่อมต่อ และการเข้าถึงพื้นที่ผ่านการเดินในเวลา 5 ถึง 10 นาที


ผู้ร่วมพัฒนา
ภาคเอกชน
  • บริษัท คอร์ปอเรชั่น โฟร์ดี จำกัด (art4d)
  • บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCG)
ภาครัฐ
  • สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
  • สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์
  • สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  • สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)
ภาคประชาสังคม
  • ชุมชนโชฎึก
  • ชุมชนโดยรอบ
ภาควิชาชีพ
  • บริษัท ปั้นเมือง จำกัด
  • บริษัท ไฮโปธีสีส จำกัด (Hypothesis)
  • บริษัท แวสแล็บ จำกัด (VaSLab)
  • กลุ่มตัวแทนนักออกแบบที่เข้าร่วมกิจกรรมเวิร์คชอป
ภาควิชาการ
-
วันเวลาสร้างข้อมูล: 1 กันยายน 2564 04:00:27
วันเวลาแก้ไขข้อมูล: 24 สิงหาคม 2566 15:52:43