หน้าแรก เราทำอะไร พื้นที่พัฒนา สำรวจพื้นที่โอกาส
ร่วมพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวขนาดเล็กในเมืองกับเรา ได้ที่
wepark.thailand@gmail.com
094 513 4778
fb.com/wecreatepark

เนื้อหาและข้อมูลโดย we!park สงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons อ้างอิงแหล่งที่มา สัญญาอนุญาตสากล 4.0 (Attribution 4.0 International) เว้นแต่มีการระบุไว้เป็นอย่างอื่น | นโยบายความเป็นส่วนตัว

สวนป่าเอกมัย

แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา
9,636 ตร.ม.
ระหว่างกระบวนการ

พื้นที่เศษเหลือจากการพัฒนาเมือง สู่พื้นที่สาธารณะสีเขียวสร้างคุณค่าด้านนิเวศ และพื้นที่สุขภาวะสำหรับชุมชน

สวนป่าเอกมัยได้รับการพัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณะสีเขียวผ่านการประกวดแบบจากภาควิชาชีพและประชาชนทั่วไป แนวคิด“สาน สร้าง สัมพันธ์” ของทีม Gedes Studio ได้ถูกนำมาพัฒนาต่อโดยการทำกระบวนการร่วมกับคนในชุมชนเพื่อให้ได้เแนวทางการออกแบบที่ตอบโจทย์การใช้งานของคนโดยรอบ ‘สาน’ การออกแบบสอดประสานไปกับเมือง และสอดคล้องกับการใช้งานและเอกลักษณ์ของชุมชน โดยมีการสร้างเส้นทางเชื่อมต่อกับระแวกชุมชน และเรียงร้อยพื้นที่ระดับย่านผ่านการเปิดทางเดินริมลำคลองให้เป็นทางเส้นทางกิจกรรม (Promenade) ซึ่งเป็นการเอื้อให้คนเดิน ปั่นจักรยาน และทำกิจกรรมที่ส่งเสริมเศรษฐกิจสังคม ‘สร้าง’ การกระตุ้นและปรับการใช้งานใหม่ให้พื้นที่รกร้างและพื้นที่ที่ถูกใช้งานไม่เต็มประสิทธิภาพกลายเป็นพื้นที่สาธารณะสีเขียวที่มีความหลากหลายในการใช้งาน สามารถใช้งานได้ 24 ชั่วโมง ทุกวัน ตลอดทั้งปี เพื่อความมีชีวิตชีวาให้แก่ชุมชน ตลอดจนส่งเสริมการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ตัวกระตุ้น (Park Activator) เพื่อ ‘สร้าง’ ที่สะท้อนมาในการออกแบบ ได้แก่ สนามฟุตบอล ห้องสมุดแบบเปิด ร้านอาหาร ตลาดนัด สวนผักชุมชน ลานโยคะ เครื่องออกกำลังกายภายนอก ลานหญ้ากิจกรรม ทางเดิน ทางจักรยาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการให้ความสำคัญกับองค์ประกอบเล็ก ๆ ภายในสวน เช่น ระบบป้าย สัญลักษณ์ และโลโก้ ที่มีการออกแบบให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อสร้างอัตลักษณ์และส่งเสริมภาพจำของสวน ‘สัมพันธ์’ เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชน โดยการออกแบบพื้นที่เพื่อรองรับการทำกิจกรรมร่วมกันและสามารถใช้งานพื้นที่ได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การปลูกสวนผักชุมชน กิจกรรมกีฬาชุมชน งานวัดต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการสร้างเส้นทางเชื่อมต่อไปยังโครงข่ายพื้นที่สาธารณะใกล้เคียง เพื่อเป็นการสานสัมพันธ์กับพื้นที่รอบข้าง

รวมภาพกระบวนการพัฒนาพื้นที่
สถานะและผลกระทบการพัฒนาพื้นที่
สถานะการพัฒนา

ระหว่างกระบวนการ

วันเริ่มโครงการ

8 กุมภาพันธ์ 2563

วันเปิดใช้งาน

-

วันปิดใช้งาน

-

การเข้าถึงพื้นที่สาธารณะสีเขียว

+12 ตร.ม.

จำนวนประชากร

2,865 คน

พื้นที่เข้าถึงในระยะรัศมี 400 เมตรทั้งหมด 666,759 ตร.ม. โดยก่อนการพัฒนาพื้นที่สามารถเข้าถึงได้อยู่เดิม 666,747 ตร.ม.

จำนวนประชากรโดยประมาณ จากโครงสร้างข้อมูลสถิติจำนวนประชากรแยกรายอายุ ปี พ.ศ. 2562 โดยกรมการปกครอง คำนวณตามสัดส่วนพื้นที่แขวงที่ระยะรัศมี 400 เมตรครอบคลุม

พื้นที่สาธารณะสีเขียว

+9,636 ตร.ม.

สิ่งอำนวยความสะดวก
  • -
พื้นที่ร่มไม้

-

ต้นไม้ใหญ่

-

กระบวนการมีส่วนร่วม 233เริ่มต้นวางแผนออกแบบก่อสร้างดูแล
  • 1 ไม่มีส่วนร่วม
  • 2 ร่วมทางอ้อม
  • 3 ร่วมปรึกษา
  • 4 ร่วมทำ
  • 5 มีอำนาจตัดสินใจ
กิจกรรม
  • ค้นหาพื้นที่ศักยภาพในย่านด้วยโครงการ Green Finder
  • นำเสนอผลลัพธ์กิจกรรมและพื้นที่ศักยภาพต่อผู้อำนวยการเขตวัฒนา
  • สำรวจและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้งาน
  • จัดกิจกรรมประกวดแบบ
  • จัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมกับชุมชนครั้งที่ 1
  • จัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมกับชุมชนครั้งที่ 2
  • พัฒนาแบบสถาปัตยกรรม
  • ขออนุมัติงบประมาณในการก่อสร้าง
  • ปรับแบบให้เหมาะสมกับงบประมาณ
  • จัดกิจกรรมในสวนเพื่อกระตุ้นพื้นที่ (Pop-up Park)
  • จัดกระบวนการเพื่อสร้างกลไกและแนวทางการบริหารจัดการ

พื้นที่ก่อนการพัฒนา
61667582809110110510410095827262473325335767727786971081351311261131078988644937480-45-910-1415-1920-2425-2930-3435-3940-4445-4950-5455-5960-6465-6970-7475-7980-8485+หญิงชายอายุ (ปี)

ข้อมูลทั่วไป

สวนป่าเอกมัย เดิมเป็นพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานครที่ยังไม่ได้ถูกพัฒนาให้สาธารณะใช้ประโยชน์ พื้นที่ถูกล้อมรอบด้วยถนนและสะพานยกระดับข้ามคลองแสนแสบยากแก่การเข้าถึงโดยสาธารณะ ชุมชนโดยรอบมีความหลากหลายวัฒนธรรม และพื้นที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของย่านสร้างสรรค์ทองหล่อ-เอกมัย

— ที่ตั้ง

แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร

— ขนาดพื้นที่

9,636 ตร.ม.

— ประเภทที่ดิน

พื้นที่สีเขียวที่ครอบครองโดยภาครัฐ

ภาพถ่ายดาวเทียม ปี พ.ศ. 2563 โดย Maxar Technologies ผ่าน Mapbox

การใช้ประโยชน์อาคาร

พื้นที่ล้อมรอบด้วยชุมชน เป็นย่านที่อยู่อาศัยหนาแน่น ผสมพื้นที่พาณิชกรรม และแทรกด้วยโรงเรียนและศาสนสถานในชุมชน

ที่อยู่อาศัยพาณิชยกรรม สำนักงานโรงแรมโรงงาน การผลิตการศึกษา วัฒนธรรม การวิจัยบริการสาธารณะ สาธารณูปการศาสนาอื่น ๆ19.8%12.4%0.5%0.2%0.8%0.2%0.4%4.1%

ข้อมูลการใช้ประโยชน์อาคารสำรวจโดย ทีมสนใจ ปี พ.ศ. 2563

พื้นที่สาธารณะสีเขียว

หนึ่งในพื้นที่ที่มีศักยภาพที่จะสามารถเชื่อมโครงข่ายพื้นที่สาธารณะสีเขียว ทั้งในย่านเอกมัย-ทองหล่อ โดยมีคลองและพื้นที่ริมคลองเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อไปในโครงข่ายเมือง ทั้งคลองแสนแสบและคลองเป้ง รวมถึงอีกฝั่งของคลองแสนแสบยังมีสวนสมเด็จสราญราษฎร์มณีรมย์ ที่มีผู้คนเข้าใช้อยู่เป็นประจำ

การเข้าถึงพื้นที่สาธารณะสีเขียว100.0%
พื้นที่ในระยะรัศมี 400 เมตรทั้งหมด

666,759 ตร.ม.

พื้นที่ที่เข้าถึงได้อยู่เดิม

666,747 ตร.ม.

— พื้นที่สาธารณะสีเขียวเดิม
  • สวนสมเด็จสราญราษฎร์มณีรมย์
  • สวนหย่อมปลายซอยเอกมัย (สวนป่าเอกมัย)
  • สวนหย่อมหน้าวัดภาษี
  • สวนสุขภาพห้วยขวางถนนเพชรบุรีตัดใหม่
  • สวนหย่อมใต้สะพานข้ามคลอง ปลายซอยสุขุมวิท 55

ข้อมูลพื้นที่สาธารณะสีเขียวในพื้นที่ จากการคัดกรองข้อมูลฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร ฉบับปรับปรุงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2564

ผู้คน

คนส่วนใหญ่ตามทะเบียนเป็นวัยทำงาน อยู่ในชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งพุทธศาสนา และอิสลาม เช่น ชุมชนนวลจิตร ชุมชนแจ่มจันทร์ ชุมชนสุเหร่าบ้านดอน และคนที่อาศัยในคอนโดมิเนียม

— จำนวนประชากร

2,865 คน

— อายุเฉลี่ย

41 ปี

ชาย

1,312 คน

อายุเฉลี่ย

40 ปี

หญิง

1,553 คน

อายุเฉลี่ย

43 ปี

ประมาณการณ์จำนวนประชากรจากโครงสร้างข้อมูลสถิติจำนวนประชากรแยกรายอายุ ปี พ.ศ. 2562 โดยกรมการปกครอง ตามสัดส่วนพื้นที่แขวง


กระบวนการ

พื้นที่แรกกับกระบวนการประกวดสาธารณะแบบเพื่อพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวของเรา

สำหรับพื้นที่สวนป่าเอกมัย เราได้ใช้การประกวดแบบเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างโอกาสการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะให้กับทั้งวิชาชีพออกแบบและคนทั่วไป โดยได้จัดกิจกรรม we!park Competition 2020: Ekkamai Pocket Park ขึ้น โดยนอกจากจะเปิดให้มีการส่งผลงานพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวจากสาธารณะแล้ว ยังได้นำเอาผลงานเหล่านี้ไปจัดแสดงในพื้นที่ทางเดินเข้าสวนเล็ก ๆ และตกแต่งพื้นที่ด้วยกระถางต้นไม้และการจัดวางที่นั่งตามจุดต่าง ๆ เกิดเป็นพื้นที่สาธารณะชั่วคราว (Pop-up Park) ให้ชุมชนและคนในพื้นที่ได้เข้ามาดูแนวคิดการพัฒนาสวนของชุมชนที่หลากหลายและกำลังจะเกิดขึ้น ร่วมนำเสนอแนวคิดและให้คะแนนตัดสินร่วมกับกรรมการภาควิชาชีพและรัฐอีกด้วย โดยผลชนะเลิศการประกวดแบบได้มาซึ่งทีมนักออกแบบที่เข้ามาร่วมพัฒนาสวนแห่งนี้ร่วมกับชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนต่อไป


ผู้ร่วมพัฒนา
ภาคเอกชน
-
ภาครัฐ
  • สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
  • สำนักงานเขตวัฒนา
  • สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ภาคประชาสังคม
  • ชุมชนนวลจิตร
  • ชุมชนแจ่มจันทร์
  • ชุมชนสุเหร่าบ้านดอน
  • ตัวแทนกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมต้นโรงเรียนวัดภาษี
  • ผู้ร่วมกิจกรรม Green Finder
ภาควิชาชีพ
  • Gedes Studio
ภาควิชาการ
-
วันเวลาสร้างข้อมูล: 1 กันยายน 2564 04:00:27
วันเวลาแก้ไขข้อมูล: 24 สิงหาคม 2566 15:52:43