หน้าแรก เราทำอะไร พื้นที่พัฒนา สำรวจพื้นที่โอกาส
ร่วมพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวขนาดเล็กในเมืองกับเรา ได้ที่
wepark.thailand@gmail.com
094 513 4778
fb.com/wecreatepark

เนื้อหาและข้อมูลโดย we!park สงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons อ้างอิงแหล่งที่มา สัญญาอนุญาตสากล 4.0 (Attribution 4.0 International) เว้นแต่มีการระบุไว้เป็นอย่างอื่น | นโยบายความเป็นส่วนตัว

แพลตฟอร์มกลางของการมีส่วนร่วม พัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวขนาดเล็กในเมืองที่มีคุณภาพและยั่งยืน

we!park เป็นพื้นที่กลางและเชื่อมโยงผู้คนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้มีส่วนร่วมในการออกแบบ สร้างสรรค์ และค้นหากลไกดูแลพื้นที่สาธารณะสีเขียวขนาดเล็ก ที่จะกระจายไปในพื้นที่เมืองที่หนาแน่นของกรุงเทพมหานคร ให้เกิดขึ้นได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ด้วยฐานของความรู้และข้อมูล ผ่านการเก็บข้อมูลเพื่อสนับสนุนงานวิจัยด้านการออกแบบและการพัฒนาพื้นที่ และสร้างองค์ความรู้ สื่อสารสู่สาธารณะเพื่อสร้างความเข้าใจด้านพื้นที่สาธารณะสีเขียวในวงกว้าง และนำผลลัพธ์ที่ได้ไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาต่อไป

เติมเต็มเมืองใหญ่
ด้วยพื้นที่เล็ก ๆ

ทำไมต้องพื้นที่สาธารณะสีเขียวขนาดเล็ก ? เพราะพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ เต็มไปด้วยอาคารที่แออัดหนาแน่น แทบไม่มีที่ว่างสำหรับพัฒนาเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ ไม่ก็ต้องเดินทางไกลกว่าจะไปถึง — พื้นที่ว่างขนาดเล็กหรือพื้นที่เศษเหลือของเมือง เช่น พื้นที่ใต้ทางด่วน พื้นที่หน้าอาคาร หรือพื้นที่รอการพัฒนา มีความสำคัญที่สามารถเปลี่ยนและเปิดเป็นพื้นที่สาธารณะสีเขียว พื้นที่สุขภาวะทางกายและใจ พื้นที่พักผ่อน พื้นที่กิจกรรมทางสังคม หรือพื้นที่ธรรมชาติ ตอบรับกับต้องการของผู้คนและสภาพแวดล้อมโดยรอบ ที่ทุกคนสามารถเดินไปได้ในระแวกบ้านของตนเอง

พื้นที่สาธารณะสีเขียวคืออะไร ? ปัจจุบันสถานการณ์พื้นที่สาธารณะสีเขียวของกรุงเทพฯ เป็นอย่างไร ? ตรงตามที่เราเข้าใจกันหรือไม่ ? — เครือข่าย we!park ได้ศึกษาวิจัย นำเสนอนิยามความหมาย และวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่สาธารณะสีเขียวของเขตชั้นในกรุงเทพฯ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจความสำคัญและสถานการณ์ปัจจุบัน ก่อนร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาที่สอดคล้องกับความจริงของเมือง

การเข้าถึงพื้นที่สาธารณะสีเขียว
ในระยะรัศมี 400 เมตร

-

พื้นที่สาธารณะสีเขียว
ต่อประชากร

-

พื้นที่สาธารณะสีเขียว
ต่อพื้นที่เมือง

-

  • พื้นที่สาธารณะสีเขียว
  • พื้นที่เข้าถึงพื้นที่สาธารณะสีเขียวในระยะรัศมี 400 เมตร
  • จากผลการศึกษาวิจัยโครงการฯ ระยะที่ 1 ปี พ.ศ. 2564 เท่านั้น
    ไม่สะท้อนข้อมูลที่นำเสนอในส่วนสำรวจพื้นที่โอกาส (Green Finder) ซึ่งเป็นข้อมูลปัจจุบันจาก mapmap แพลตฟอร์มฐานข้อมูลเปิดพื้นที่สาธารณะสีเขียว ที่อยู่ระหว่างกระบวนการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอย่างมีส่วนร่วมระหว่าง กทม. และภาคีเครือข่าย (https://studio.mapmap.city)
  • ข้อมูลพื้นที่สาธารณะสีเขียว ปี พ.ศ. 2564 (คัดกรองจากฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร) ข้อมูลพื้นที่ร่มไม้ ปี พ.ศ. 2559 และข้อมูลประชากร ปี พ.ศ. 2562 (กรมการปกครอง) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 'สถานการณ์'
  • ภาพถ่ายดาวเทียม ปี พ.ศ. 2563 โดย Maxar ผ่าน Mapbox
  • คำสั่งเปรียบเทียบภาพ ดัดแปลงจาก JuxtaposeJS

นิยาม

ไม่ใช่ทุกพื้นที่สีเขียวคือพื้นที่สาธารณะ — มาทำความรู้จัก 'พื้นที่สีเขียว' และ 'พื้นที่สาธารณะ' ให้เข้าใจความหมายและวัดค่าได้ตรงกับทั่วโลก

พื้นที่สาธารณะสีเขียว
Green Public Space

พื้นที่สีเขียวที่สาธารณะใช้ประโยชน์ได้ หรือพื้นที่ที่สาธารณะสามารถเข้าถึงได้อย่างอิสระโดยมีปริมาณพืชพันธุ์ปกคลุมอย่างมีนัยยะสำคัญ เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับปฏิสัมพันธ์ทางสังคม สร้างสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพและยั่งยืน

"สวนสาธารณะ" ที่เราทุกคนรู้จัก เป็นหนึ่งในพื้นที่สาธารณะสีเขียว แต่ก็ยังรวมถึงพื้นที่ของรัฐ เอกชน นิติบุคคล หรือเจ้าของใด ๆ ก็ตามที่ "เปิด" พื้นที่สีเขียว ให้สาธารณะเข้าไปใช้ประโยชน์ได้อย่างอิสระ ซึ่งสร้างประโยชน์ทั้งด้านสังคมในการเป็นพื้นที่สาธารณะ (Public Space) รวมถึงด้านสภาพแวดล้อมและคุณภาพอากาศที่ดีในการเป็นพื้นที่สีเขียว (Green Area) ให้กับเมือง

พืนทีสีเขียวGreen Area พืนทีสาธารณะPublic Space

ไม้บรรทัดของการวัด
พื้นที่สาธารณะสีเขียวในเมือง

ตัวชี้วัดหลักที่หลายเมืองทั่วโลกใช้ประเมินปริมาณพื้นที่สาธารณะสีเขียวในเมือง แต่แน่นอนว่าเรายังต้องทำงานกันต่อด้านการประเมินคุณภาพพื้นที่ คุณภาพการเข้าถึง รวมถึงนโยบายและการสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวของเมือง เพื่อให้ "ทุกคน" สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้สอดคล้องกับความต้องการ

การเข้าถึงพื้นที่สาธารณะสีเขียว
Accessibility to Green Public Space
%
พื้นที่สาธารณะสีเขียวต่อประชากร
Green Public Space per Capita
ตร.ม./คน
พื้นที่ร่มไม้
Urban Tree Canopy
%
  • จากผลการศึกษาวิจัยโครงการฯ ระยะที่ 1 ปี พ.ศ. 2564 ปัจจุบันมีการปรับปรุงวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
  • นิยามและการประเมินพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียว จาก UN-Habitat City Prosperity Initiatives (CPI) MEASUREMENT OF CITY PROSPERITY Methodology and Metadata
  • การประเมินพื้นที่ร่มไม้ จาก USDA Forest Service

สถานการณ์

สถานการณ์พื้นที่สาธารณะสีเขียวของแต่ละเขตพื้นที่ชั้นในกรุงเทพฯ เป็นอย่างไร ? สำรวจข้อมูลแล้วเปลี่ยนความเข้าใจไปสู่แผนและการขับเคลื่อน ผ่านการลองกำหนดเป้าหมายและเห็นสิ่งที่ต้องทำต่อ ด้วยเครื่องมือง่าย ๆ

อยากให้กรุงเทพฯ ของเราทุกคนเป็นอย่างไร เลือกเป้าหมายที่อยากเห็น ตามโครงการ Green Bangkok 2030 โดยกรุงเทพมหานคร ที่ผลักดันการพัฒนากรุงเทพฯ ไปสู่เมืองสีเขียว ซึ่ง we!park เป็นหนึ่งในภาคีเครือข่ายร่วมขับเคลื่อน หรือจะตามเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ตามสภาพปัจจุบันของเมืองที่ประสบความสำเร็จ หรือตามใจฉันก็ยังได้


การเข้าถึง
พื้นที่สาธารณะสีเขียว
ระยะรัศมี 400 เมตร %

- -

ต้องเพิ่มการเข้าถึง %

-


พื้นที่สาธารณะสีเขียว

ต่อประชากร ตร.ม./คน

- -

ต่อพื้นที่เมือง %

-

ต้องเพิ่มพื้นที่ ตร.ม.

-


พื้นที่ร่มไม้

ต่อพื้นที่เมือง %

- -

ต้องปลูกต้นไม้ ต้น

-

คำนวณต้นละ 10 ตร.ม.
-
  • จากผลการศึกษาวิจัยโครงการฯ ระยะที่ 1 ปี พ.ศ. 2564 ปัจจุบันมีการปรับปรุงวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และอยู่ระหว่างกระบวนการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันร่วมระหว่าง กทม. และภาคีเครือข่าย ผ่านแพลตฟอร์มฐานข้อมูลเปิดพื้นที่สาธารณะสีเขียว (https://studio.mapmap.city)
  • การนำเสนอข้อมูลด้วยภาพนี้ (data visualization) เป็นการแสดงผลค่าด้วยขนาดพื้นที่เทียบตามรูปร่างของเขตจริง (เหมือนน้ำในแก้ว) ไม่ใช่การแสดงผลค่าเทียบตามความสูงของรูปร่างเขต โดยกำหนดค่าร้อยละสูงสุดที่ 100% และ ตร.ม./คน สูงสุดที่ 20 ตร.ม./คน
  • พื้นที่เป้าหมาย คือ เขตพื้นที่ชั้นในกรุงเทพฯ ซึ่งมีที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (เขตสีน้ำตาล) ตามแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินฯ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 และเขตต่อเนื่อง จำนวน 22 เขต ประกอบด้วย พระนคร ดุสิต บางรัก ปทุมวัน ป้อมปราบศัตรูพ่าย ยานนาวา สัมพันธวงศ์ พญาไท ธนบุรี บางกอกใหญ่ ห้วยขวาง คลองสาน บางกอกน้อย บางพลัด ดินแดง สาทร บางซื่อ จตุจักร บางคอแหลม คลองเตย ราชเทวี และวัฒนา
  • ข้อมูลพื้นที่สาธารณะสีเขียว จากการคัดกรองประเภทพื้นที่ ชื่อพื้นที่ ชื่อเจ้าของพื้นที่ และตรวจสอบด้วยภาพถ่ายจากฐานข้อมูลและ Google Street View ให้ใกล้เคียงตามนิยาม จากฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร ฉบับปรับปรุงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2564 สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม และสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
  • ข้อมูลพื้นที่ร่มไม้ จากการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียด 40 ซม./พิกเซล ปี พ.ศ. 2559 ด้วยการเรียนรู้ด้วยเครื่อง (machine learning) มีค่าความถูกต้องจากการเปรียบเทียบพื้นที่อ้างอิงและพื้นที่ผลลัพธ์ที่ประมวลผลได้ หรือ mIoU (mean Intersect of Union) ที่ร้อยละ 78.6 จากความร่วมมือระหว่างสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) และบริษัท มอ แอนด์ ฟาร์มเมอร์ จำกัด ภาพถ่ายดาวเทียม โดย สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร
  • ข้อมูลประชากร จากโครงสร้างข้อมูลสถิติจำนวนประชากรแยกรายอายุ ปี พ.ศ. 2562 กรมการปกครอง
  • ขอบเขตจังหวัดและเขตของกรุงเทพมหานคร จากข้อมูลขอบเขตการปกครองระดับแขวงหรือตำบล ปี พ.ศ. 2562 โดยอีเอสอาร์ไอ
  • ข้อมูลพื้นที่สาธารณะสีเขียวประเทศสิงคโปร์ จากข้อมูล Parks and Open Space และ Park Connector Network ปี ค.ศ. 2017 โดย Data.gov.sg และเมืองซานฟรานซิสโก ปี ค.ศ. 2021 โดย The Trust for Public Land

การมีส่วนร่วม
วิชาชีพ ประชาสังคม มหาวิทยาลัย รัฐ เอกชน

พัฒนาอย่างบูรณาการ แบ่งปันแลกเปลี่ยนทรัพยากร ความรู้ความสามารถ ช่วยกันเติมเต็มพื้นที่สาธารณะสีเขียวให้มีคุณภาพและยั่งยืน

ภาครัฐไม่ว่าทั้งไทยและประเทศพัฒนาแล้ว ไม่สามารถพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาเมืองได้เองแต่เพียงฝ่ายเดียวอีกต่อไป เพราะปัญหาที่สลับซับซ้อนของเมืองสมัยใหม่ หลายเมืองจึงใช้กระบวนการมีส่วนร่วม (Participation) เป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่ให้ประชาชนทุกภาคส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการวางแผน ตัดสินใจ พัฒนา ร่วมกำหนดการแบ่งปันข้อมูล เป้าหมาย หรือนโยบาย เพื่อให้บรรลุจุดหมายของการพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวให้เป็นส่วนหนึ่งของเมืองที่น่าอยู่ น่าอาศัยสำหรับทุกคน สร้างความรู้สึกร่วมรับผิดชอบ และเป็นเจ้าข้าวเจ้าของพื้นที่ร่วมกัน

นอกจากกระบวนการคิด วางแผน ออกแบบ และก่อสร้างแล้ว เรายังให้ความสำคัญกับกระบวนค้นหากลไกการบริหารจัดการและดูแลรักษาพื้นที่ร่วม ที่จะทำให้พื้นที่ถูกใช้งานและมีคุณภาพได้อย่างยั่งยืน

สนับสนุนการมีส่วนร่วม
ในทุกขั้นของการสร้างสรรค์พื้นที่
ในทุกกลุ่มของสังคมเมือง

ร่วมหาพื้นที่ ร่วมคิด ร่วมแรงร่วมทำ ร่วมลงทุน ร่วมดูแลร่วมบริการจัดการ

เลื่อนเมาส์หรือแตะบนพื้นที่
ปัดซ้ายขวาสำหรับหน้าจอเล็ก ๆ
! ! ! !

พื้นที่โอกาส

แล้วเมืองแออัดอย่างกรุงเทพฯ
เราจะร่วมกันเพิ่มพื้นที่สาธารณะสีเขียวที่จะทำให้เมืองของเราน่าอยู่กว่านี้ได้อย่างไร ?

เลื่อนเมาส์หรือแตะบนพื้นที่ว่าง
ปัดซ้ายขวาสำหรับหน้าจอเล็ก ๆ

พื้นที่ใต้ทางด่วน พื้นที่หน้าอาคาร ระหว่างอาคาร ที่จอดรถ ตรอก ซอก ซอย หรือพื้นที่สร้างสรรค์แบบใหม่ เป็นพื้นที่โอกาสที่ยังมีเสมอ ถ้าพื้นที่ใหญ่ ๆ ไม่มี เราก็สามารถหาพื้นที่เล็ก ๆ เปลี่ยนและเปิดเป็นพื้นที่สาธารณะสีเขียว พื้นที่เล็ก ๆ ที่กระจายตัวไปทั่วทั้งเมืองยังช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม

มาร่วมกันสำรวจพื้นที่โอกาส แล้วเรา we!park และภาคีเครือข่าย จะร่วมกันค้นหาศักยภาพและแนวทางพัฒนาให้เป็นพื้นที่สาธารณะสีเขียวของทุกคน หรือถ้าคุณอยากจะมีส่วนร่วมกับเรา ติดตามหรือติดต่อเรามาได้ตามรายละเอียดข้างล่างนี้เลย


งานวิจัย

โครงการ we!park เพื่อกระบวนการพัฒนาต้นแบบผ่านการมีส่วนร่วมและสร้างคู่มือการออกแบบพื้นที่สาธารณะสีเขียวขนาดเล็กที่มีคุณภาพและยั่งยืน

งานวิจัยการพัฒนาพื้นที่ว่างขนาดเล็กให้เป็นพื้นที่สาธารณะสีเขียวผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ที่เริ่มตั้งแต่การทบทวนแนวความคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ศึกษาพื้นที่ต้นแบบทั้งในและต่างประเทศ วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ หลังจากนั้น จึงเป็นการทดลองใช้กระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมในพื้นที่จริง 4 พื้นที่ ไปพร้อมกับการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาสรุปผล และพัฒนาแนวทางของกระบวนการที่จะใช้ต่อไปในอนาคต


คู่มือการพัฒนาพื้นที่ว่างให้เป็นพื้นที่สาธารณะสีเขียวขนาดเล็กที่มีคุณภาพและยั่งยืนของเมือง (Small Green Public space)

คู่มือรวบรวมเรื่องราวพื้นที่สาธารณะสีเขียวขนาดเล็ก ที่พูดถึงทั้งเรื่องพื้นที่สีเขียว และการพัฒนาพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดเป็นพื้นที่ของสาธารณะอย่างแท้จริง พร้อมทั้งมีการอธิบายกระบวนการทำงานแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด โดยมีการสอดแทรกตัวอย่างพื้นที่สาธารณะทั้งในและต่างประเทศ ในส่วนท้ายเล่มจะเป็นแนวทางการประเมินพื้นที่และการวางโครงสร้างการขับเคลื่อนพื้นที่ที่ทุกคนสามารถนำไปทดลองใช้ได้


ประเด็นข้อมูลและตัวชี้วัดในกลไกพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวในเมือง (เวอร์ชัน 1)

เล่มประเด็นข้อมูลและตัวชี้วัด รวบรวมการศึกษาประเด็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียว แล้วพัฒนาออกมาเป็นตัวชี้วัด เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการทำความเข้าใจสถานณ์พื้นที่สาธารณะสีเขียวของเมือง มองหาพื้นที่เร่งด่วนที่ต้องมีการเพิ่มพื้นที่สาธารณะสีเขียว ไปจนถึงเป็นเกณฑ์ในการประเมินคุณภาพของพื้นที่สาธารณะสีเขียว และประเมินผลที่เกิดขึ้นในระดับเมืองจากการมีพื้นที่สาธารณะสีเขียว โดยมีการยกตัวอย่างการวิเคราะห์และประเมินพื้นที่ท้ายเล่ม