หน้าแรก เราทำอะไร พื้นที่พัฒนา สำรวจพื้นที่โอกาส
ร่วมพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวขนาดเล็กในเมืองกับเรา ได้ที่
wepark.thailand@gmail.com
094 513 4778
fb.com/wecreatepark

เนื้อหาและข้อมูลโดย we!park สงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons อ้างอิงแหล่งที่มา สัญญาอนุญาตสากล 4.0 (Attribution 4.0 International) เว้นแต่มีการระบุไว้เป็นอย่างอื่น | นโยบายความเป็นส่วนตัว

สวนสานธารณะ

แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน
3,658 ตร.ม.
ระหว่างกระบวนการ
มีภาคีหลักร่วมพัฒนา

สวนสานธารณะ สานฝัน สานอดีต สู่อนาคต

สวนสานสาธารณะเป็นพื้นที่ตัวอย่างในการนำเอากระบวนการการมีส่วนร่วมเข้ามาพัฒนาพื้นที่รกร้างที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้เป็นพื้นที่สาธารณะของชุมชนและผู้คนโดยรอบผ่านความร่วมมือของเจ้าของพื้นที่ ตลอดจนชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับนโยบายจนถึงระดับบุคคลทั่วไป ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสถาบันการศึกษา ภาควิชาชีพ และภาคประชาสังคม พื้นที่ที่นำมาพัฒนานี้เป็นของเอกชนที่ส่งมอบให้กับทางสำนักงานกรุงเทพมหานคร เพื่อใช้ประโยชน์สาธารณะเป็นเวลา 10 ปี การพัฒนาพื้นที่แห่งนี้จึงถือเป็นตัวอย่างรูปแบบการได้มาซึ่งพื้นที่สาธารณะสีเขียวของเมืองโดยความร่วมมือและความตั้งใจจากภาคเอกชน we!park ได้เข้าร่วมกับเครือข่ายในการจัดกิจกรรมกระตุ้นพื้นที่ “สวนสานธารณะ” ให้เห็นถึงโอกาสในการพัฒนาพื้นที่รกร้างให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน ในมิติด้านสังคม เศรษฐกิจ สุขภาวะ และสิ่งแวดล้อม ก่อนการขับเคลื่อนไปสู่พื้นที่สาธารณะสีเขียวที่ชุมชนจะใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น ‘สานย่าน’ โยงย่านทั้งย่านด้วยการเดิน กิจกรรมร้อยเรียงย่านทั้งย่านให้เป็นหนึ่งเดียว ให้แต่ละจุดของย่านคลองสานสัมพันธ์กัน ด้วยกิจกรรมการเชื่อมย่านผ่านสถานที่ท่องเที่ยวหรือพื้นที่สีเขียว ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเดินเมือง (City Walk) กิจกรรมเดินตามหาพื้นที่สีเขียว (Green Finder) ‘สืบสาน’ สานต่อความเก่า จากคนรุ่นเก๋า บอกเล่าวัฒนธรรมย่านผ่านภาพเก่าสะท้อนความทรงจำและสืบสานเรื่องราวในอดีตจากคนรุ่นเก๋า จากกิจกรรมภาพเก่าเล่าย่าน ‘สานสัมพันธ์’ สานคน สร้างย่าน พาคนมาพบปะ พบเจอ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ จากคนในย่านสู่คนนอกย่าน จากคนละย่านสู่ย่านเดียวกัน ในกิจกรรมสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีให้กับคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็น การร่วมกันเปลี่ยนพื้นที่ทิ้งร้างให้เป็น Pop-up Park และกิจกรรมเตะฟุตบอลยังธนคัพ ‘สานสรรค์’ สังสรรค์สร้างยิ้ม จากคนสู่ย่าน การกระตุ้นย่านและดึงดูดผู้คนด้วยกิจกรรมสังสรรค์ต่าง ๆ สร้างเสียงหัวเราะ ความเฮฮา เพื่อให้ผู้คนได้มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ จากวงดนตรี ชมรมกลองเยาว์ ข้างเสฯ และกิจกรรมรับชมภาพยนต์ในสวน ‘สานเสวนา’ สานฝันทั้งย่าน สู่อนาคต สานต่อความฝัน ความหวังของชุมชน สร้างกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อเปลี่ยนแปลงย่านทั้งย่านสู่อนาคตด้วยการเสวนา เช่น กิจกรรมเสวนาการพัฒนาพื้นที่สาธารณะในอนาคต และกิจกรรม เสวนาวัฒนธรรมอาหารของคลองสาน เพื่อสานต่อรสชาติที่คุ้นเคย

รวมภาพกระบวนการพัฒนาพื้นที่
สถานะและผลกระทบการพัฒนาพื้นที่
สถานะการพัฒนา

ระหว่างกระบวนการ

ภาคีหลักร่วมพัฒนาโครงการ
  • สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
วันเริ่มโครงการ

16 ตุลาคม 2563

วันเปิดใช้งาน

-

วันปิดใช้งาน

-

การเข้าถึงพื้นที่สาธารณะสีเขียว

+15,643 ตร.ม.

จำนวนประชากร

7,324 คน

พื้นที่เข้าถึงในระยะรัศมี 400 เมตรทั้งหมด 585,776 ตร.ม. โดยก่อนการพัฒนาพื้นที่สามารถเข้าถึงได้อยู่เดิม 570,133 ตร.ม.

หลังจากกิจกรรมสวนสาธารณะ มีการเปิดพื้นที่บางส่วนเพื่อรอพัฒนาจนถึงปัจจุบัน

พื้นที่สาธารณะสีเขียว

+3,658 ตร.ม.

สิ่งอำนวยความสะดวก
  • -
พื้นที่ร่มไม้

-

ต้นไม้ใหญ่

-

กระบวนการมีส่วนร่วม 23เริ่มต้นวางแผนออกแบบก่อสร้างดูแล
  • 1 ไม่มีส่วนร่วม
  • 2 ร่วมทางอ้อม
  • 3 ร่วมปรึกษา
  • 4 ร่วมทำ
  • 5 มีอำนาจตัดสินใจ
กิจกรรม
  • จัดกิจกรรมเดินเมือง
  • จัดกิจกรรมตามหาพื้นที่สีเขียว (Green Finder)
  • จัดกิจกรรมภาพเก่าเล่าย่าน
  • จัดแข่งขันฟุตบอลเยาวชนยังธนคัพ
  • จัดกิจกรรมสวนสานธารณะ

พื้นที่ก่อนการพัฒนา
95151168192215262220241259266250263259229164977364901311681792242382192492642722833253143022201491231070-45-910-1415-1920-2425-2930-3435-3940-4445-4950-5455-5960-6465-6970-7475-7980-8485+หญิงชายอายุ (ปี)

ข้อมูลทั่วไป

พื้นที่ของเอกชนที่ถูกทิ้งร้างไม่มีการใช้ประโยชน์จนกลายเป็นที่ทิ้งขยะ พื้นที่อยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ล้อมรอบด้วยชุมชนเก่าย่านกุฎีจีน-คลองสาน และอาคารประวัติศาสตร์เก่าแก่ที่ทรุดโทรม

— ที่ตั้ง

แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

— ขนาดพื้นที่

3,658 ตร.ม.

— ประเภทที่ดิน

พื้นที่ว่างครอบครองโดยภาคเอกชน

พื้นที่สาธารณะสีเขียว

เป็นพื้นที่สีเขียวที่ถูกทิ้งร้างไม่ได้รับการดูแลรักษา แม้ว่าชุมชนจะสามารถเข้าถึงพื้นที่สาธารณะสีเขียวอื่น ๆ ได้ในระยะเดิน แต่การที่พื้นที่นี้ตั้งอยู่ในชุมชนเก่าแก่ รวมถึงเป็นพื้นที่เอกชน จึงสามารถเป็นต้นแบบของการพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวรูปแบบใหม่ที่ประสานกันของทุกภาคส่วน และเรื่องราวประวัติศาสตร์ของชุมชน

การเข้าถึงพื้นที่สาธารณะสีเขียว97.3%
พื้นที่ในระยะรัศมี 400 เมตรทั้งหมด

585,776 ตร.ม.

พื้นที่ที่เข้าถึงได้อยู่เดิม

570,133 ตร.ม.

— พื้นที่สาธารณะสีเขียวเดิม
  • สวนหย่อมสมเด็จพระธีรญาณมุนี (ถ.อนุวงศ์ แขวงจักรวรรดิ)
  • สวนป่ากทม.เฉลิมพระเกียรติเชิงสะพานพระปกเกล้า ถนนพญาไม้ แขวงสมเด็จเจ้าพระยา
  • อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ถนนพญาไม้ แขวงสมเด็จเจ้าพระยา
  • สวนหย่อมวงเวียนเล็ก
  • สวนหย่อมสะพานพระปกเกล้า ถนนสะพานพุทธ แขวงวังบูรพาภิรมย์
  • สวนป่าเฉลิมพระเกียรติเชิงสะพานพุทธ
  • สวนหย่อมเชิงสะพานพระปกเกล้า(ถ.จกรวรรดิ แขวงจักรวรรดิ)
  • สวนหย่อมเชิงสะพานพุทธยอดฟ้า (ลาน ร.1)
  • สวนหย่อมหลังสวนสมเด็จย่าฯ
  • สวนหย่อมริมแม่นำเจ้าพระยา(หลังโรงเกลือ)
  • สวนหย่อมสมเด็จพระธีรญาณมุนี

ข้อมูลพื้นที่สาธารณะสีเขียวในพื้นที่ จากการคัดกรองข้อมูลฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร ฉบับปรับปรุงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2564

ผู้คน

ชุมชนในย่านเมืองเก่าที่มีผู้อาศัยหนาแน่น และส่วนใหญ่กำลังเข้าสู่วันสูงอายุ และอยู่อาศัยในพื้นที่มานาน ซึ่งมีความทรงจำ เรื่องราว ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่มากมายที่สามารถส่งต่อผ่านการพัฒนาพื้นที่

— จำนวนประชากร

7,324 คน

— อายุเฉลี่ย

44 ปี

ชาย

3,468 คน

อายุเฉลี่ย

43 ปี

หญิง

3,856 คน

อายุเฉลี่ย

46 ปี

ประมาณการณ์จำนวนประชากรจากโครงสร้างข้อมูลสถิติจำนวนประชากรแยกรายอายุ ปี พ.ศ. 2562 โดยกรมการปกครอง ตามสัดส่วนพื้นที่แขวง


กระบวนการ

สานความร่วมมือ

กระบวนการการขับเคลื่อนพื้นที่สาธารณะสีเขียวแห่งนี้ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การเตรียมความพร้อมกระบวนการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและเข้าใจถึงกระบวนการ นโยบาย และการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตร่วมกัน โดยมีการจัดกลุ่มวงสนทนาในระดับย่อย ตั้งแต่วงสนทนาของเจ้าของพื้นที่และพื้นที่ข้างเคียงวงสนทนาชุมชนและย่าน วงสนทนาระดับภาคีเครือข่ายและภาคีผู้รับผิดชอบในงานดูแลและพัฒนาชุมชน และวงสนทนาของหน่วยงานวางแผนด้านนโยบายเพื่อรวบรวมความคิด มุมมอง ความต้องการแต่ละฝ่ายและนำมาออกแบบกิจกรรมเพื่อสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยน ผสานและต่อยอดความคิดในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะแห่งนี้ร่วมกันในทุกภาคส่วน ระยะที่ 2 การสร้างพื้นที่และกิจกรรมกระตุ้น โดยการนำเอาข้อมูลความต้องการจากวงสนทนา ข้อมูลจากการลงสำรวจพื้นที่ชุมชน และข้อมูลจากการสืบค้นเอกสารเชิงวิชาการของพื้นที่ในด้านประวัติศาสตร์ชุมชน และโครงข่ายพื้นที่สีเขียว เพื่อนำออกแบบกิจกรรมและออกแบบเชิงกายภาพในพื้นที่จริง สร้างพื้นที่ส่วนกลางในการรวบรวมผู้คนให้เข้ามาพูดคุย แสดงความคิดเห็น เรียนรู้และต่อยอดมุมมอง ผ่านกิจกรรมในวันจัดงาน รวมถึงสร้างประสบการณ์การใช้งานในพื้นที่ ทดลองการใช้งานบางส่วน และสร้างความเป็นไปได้เชิงกายภาพเพื่อสื่อสารสู่ผู้คนในวงกว้าง ระยะที่ 3 การต่อยอดไปสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบายในอนาคต โดยนำเอาบทสรุปจากงานกิจกรรมและเวทีเสวนา รวมถึงจากการตั้งวงสนทนา ข้อมูลจากการลงสำรวจพื้นที่ชุมชน และข้อมูลจากการสืบค้นเอกสารเชิงวิชาการ มาถอดบทเรียนเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมด้านนโยบายพื้นที่สาธารณะ


ผู้ร่วมพัฒนา
ภาคเอกชน
  • บริษัท ไลท์คอร์นเนอร์ จำกัด (Light Corner)
  • บริษัท ลิกมันไลท์ติ้ง จำกัด (LIGMAN)
  • บริษัท เอ็ม.เจ. การ์เด้น จำกัด (M.J. Gardens)
  • บริษัท เซาท์อิสไทยแลนด์ จำกัด (Southeast Thailand)
  • บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำกัด (a day)
  • ร้านกาแฟ Deep Root
  • โรงเกลือแหลมทอง
  • ห้างสรรพสินค้าไอคอนสยาม (Iconsiam)
ภาครัฐ
  • สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
  • สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
  • สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
  • สำนักงานเขตคลองสาน
  • สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)
  • อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ภาคประชาสังคม
  • กลุ่มยังธน
  • มูลนิธิประชาคมกะดีจีน-คลองสาน
  • ชุมชนช่างนาค-สะพานยาว
  • ชุมชนสวนสมเด็จย่า
  • โรงเรียนบำรุงวิชา
ภาควิชาชีพ
  • บริษัท ฉมา จำกัด (shma)
  • City Cracker
  • บริษัท ครอส แอนด์ เฟรนด์ จำกัด
  • สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย
  • บริษัท คลาวด์ฟลอร์ จำกัด (Cloud-Floor)
ภาควิชาการ
  • โครงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมเพื่อพัฒนาการออกแบบ (iddc) มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • โครงการ City Lab
  • ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC)
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันเวลาสร้างข้อมูล: 1 กันยายน 2564 04:00:27
วันเวลาแก้ไขข้อมูล: 24 สิงหาคม 2566 15:52:43